“หากพูดถึงเรื่องการของการเรียนรู้ อยากให้มองว่าการเรียนรู้คือเรื่องปกติของชีวิต ต้องให้การเรียนรู้เป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้” ผศ.ดร. สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้ประสานงานเมืองแห่งการเรียนรู้ของอาเซียน และ อาจารย์ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . ผศ.ดร.สุวิธิดา กล่าวว่า การศึกษาเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ควรทำการศึกษา 2 ระดับ ทั้งการศึกษาในระบบและการเรียนรู้นอกระบบการศึกษา ที่ต้องดูทั้งตัวผู้จัดและผู้เรียนรู้ (learner/user) ดังนั้น ต้องระบุให้ชัดเจนว่า การพัฒนาการเรียนรู้จะทำในลักษณะใด การศึกษาระดับใด และจะทำให้การเรียนรู้เข้าถึงตัวคนชัดเจนได้อย่างไร . ในประเด็น การเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ผศ.ดร.สุวิธิดา ได้กล่าวว่าการสร้างการเรียนรู้ถือเป็นนโยบายสำคัญที่จะขับเคลื่อนการเรียนรู้ของคน ซึ่งจะสามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาในหลายแง่มุม ได้แก่ เป็นการเสริมสมบูรณ์แห่งตน (personal fulfillment) เป็นเรื่องการเศรษฐกิจ ให้คนมีทักษะ มีอาชีพที่มั่นคงสามารถพึ่งพาตัวเองได้ เป็นเรื่องของการสร้างสรรค์สังคมที่อยู่ร่วมกันได้ (social cohesion) และในลำดับสุดท้ายที่มีการเพิ่มเข้ามาตั้งแต่ทั่วโลกเกิดสถานการณ์โควิด คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) จะต้องไปส่งเสริมเรื่องของสุขภาวะที่ดีด้วย (well-being & health development) ในเมืองไทยการสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องมีการกำหนดทิศทางโดยในระยะแรกอาจเลือกเพียงทิศทางเดียวก่อนแล้วจึงขยายต่อไปในช่วงระยะกลางและระยะยาว และผศ.ดร.สุวิธิดา เสริมว่า เมื่อมองเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ ต้องมีการมองทั้งระบบ ทั้งในเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะสถาบันทางสังคมหรือแม้แต่โครงสร้างในเชิงของการบริหารจัดการ มิติความสัมพันธ์ของผู้คนหรือเครือข่าย ต้องเห็นความเชื่อมโยงว่า ใคร อะไร อยู่ตรงไหน นอกจากนี้ยังต้องมีการสร้างตัวชี้วัดเพื่อดูผลทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพราะเรื่องของการเรียนรู้นั้นไม่สามารถวัดผลได้เพียงจากตัวเลข . Cr: UddC_CEUS

Leave a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *